วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

มารู้จักอาหารอาเซียน


อาหารอาเซียน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  เฟซบุ๊ก Ambuyat Fans Club (Traditional Dish of Brunei) , mmm-yoso.typepad.com , thekitchn.com

          การก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประเทศสมาชิก คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา นอกจากเป็นการรวมตัวกันเพื่อช่วยพัฒนาประเทศในภูมิภาคเดียวกันแล้ว ยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาหารการกิน

          เนื่องจากแถบอาเซียนมีทรัพยากรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีเมนูอาหารที่น่ารับประทาน และมีประโยชน์ต่อสุขภาพให้เลือกมากมาย  ดังนั้นเพื่อไม่ให้พลาดกับอาหารรสเลิศของประเทศต่าง ๆ ทางกระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวม อาหารอาเซียน กับ 10 เมนูเด็ดของ 10 ประเทศอาเซียน ที่ห้ามพลาดมากฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วเชิญชิม..เอ้ย..เชิญชมกันเลยจ้า

ดอยเสมอดาว

กินลมชมวิว ณ ดอยเสมอดาว

ดอยเสมอดาว

มารู้จักอาเซียนกันเถอะ

  อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่ 
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) >>ไปที่ http://www.thai-aec.com/

ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่ 
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558

ประชาคมอาเซียน คือ
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ
ภาษาอาเซียน
              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ
คำขวัญของอาเซียน
                                                        
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                           (One Vision, One Identity, One Community)

อัตลักษณ์อาเซียน             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
              คือ   ดวงตราอาเซียนเป็น
              รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
              สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  และสีน้ำเงิน
              รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ  ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
              วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
              ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
              สีเหลือง    :   หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
              สีแดง       :    หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
              สีขาว       :    หมายถึง ความบริสุทธิ์
              สีน้ำเงิน    :    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ธงอาเซียน
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด

วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem)
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY

หลงรัก ซูตองเป้

ตองเป้” สะพานไม้ไผ่ยาวสุดในไทย สร้างจากใจศรัทธา

 “เจอครั้งแรก ผมนี่หลงรักเลยครับ” 

ผมขอหยิบยืมคำพูดประสาวัยรุ่น มาบอกกล่าวถึงความรู้สึก เมื่อแรกพบกับเรื่องราวของ “สะพานซูตองเป้” แห่งนี้

เป็นรักแรกพบ...บทอันประทับใจที่ได้ปักหมุดให้สะพานแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ต้นๆในการไปเยือนแม่ฮ่องสอนครั้งต่อๆไป 



"ซูตองเป้" สะพานแห่งศรัทธา จ.แม่ฮ่องสอน


ซูตองเป้ สถานที่ท่องเที่ยวมาแรง แห่งแม่ฮ่องสอน

สอนลูกเรื่องอาเซีย

บทนำ

Association of South East Asian Nations (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก 10 ประเทศคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า กัมพูชา ลาว ก่อนปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยในฐานะสมาชิกได้เตรียมความพร้อมของประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้หน่วย งานทุกภาคส่วนให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่ประชาชน พ่อแม่จึงมีส่วนร่วมทำหน้าที่สอนลูกให้รู้จักประชาคมอาเซียนเช่นกัน

แค่รู้ก็ไม่หลงทางรัก บทความดีดีจากดังตฤณ

แค่รู้...ก็ไม่หลงทางรัก" บทความดีดีจากคุณดังตฤณ


บทความดีดีที่อยากให้อ่าน....................
ทำไมนะคนเราถึงโหยหาที่จะมีความรัก"
นอกจากความเรียกร้องของสัญชาตญาณทางเพศแล้ว คนหนุ่มสาวหลายคนกำลังโหยหาความรัก เพราะไปสำคัญว่าความรักนี่แหละจะช่วยผลักไสให้ความเหงาและความโดดเดี่ยวที่ตนกำลังเผชิญอยู่ห่างออกไปได้ ทั้งที่มีหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อย กลับเหงาและโดดเดี่ยวมากขึ้นเมื่อมีความรัก พร้อมทั้งวิตกกังวลและว้าวุ่นใจเพราะคนที่รัก
เมื่อเราปรารถนาให้ใครสักคนมาอยู่ข้างกายหรือเป็นคู่รัก เราไม่มีทางรู้เลยว่าเหตุการณ์ต่อไปในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” เพราะความรักมีอีกชื่อหนึ่งว่า กามตัณหา” ซึ่งคือกิเลสอันเจือด้วย ราคะ เฝ้าแต่เรียกร้องต่างๆนานาให้ตอบสนองกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นเมื่อเรากำลังเหงาและว้าเหว่จากการไขว่คว้าหาความรักอยู่ล่ะก็ โปรดตระหนักรู้ว่า เราทุกข์เพราะ ความเหงา” เท่านั้นเอง มันไม่ได้เลวร้ายอะไรเท่าไหร่เลย ความเหงาเป็นเพียงคลื่นความคิดที่ผ่านเข้ามาเยี่ยมเยือนใจเราและก็ผ่านออกไป ขอให้การตระหนักรู้นี้อาบรดจิตใจของเราอยู่บ่อยๆ

คาถาศักดิ์สิทธิ์ บทสวดจักรพพรดิ

หลวงปู่ดู่ กับพระคาถามหาจักรพรรดิ








“นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิ ธาตุโย 
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ”


“พระคาถามหาจักรพรรดิ” เป็นพระคาถาที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก“ชมพูปติสูตร” ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อกำราบทิฐิพญา ชมพูบดีพระมหากษัตริย์ผู้มากด้วยอิทธิฤทธิ์

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



ท่องโลก twitter ประมวล Hashtag ยอดฮิต เรื่องเด็ด-วลีโดนเพียบ!


ต้องขอบอกว่าไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์ คนไทยก็ไม่พลาดที่จะกระหน่ำติด #แฮชแทก บน Twitter กันอย่างบ้าคลั่ง จนถึงขั้นบางอันติด Hashtag ระดับโลกกันเลยทีเดียว
วันนี้ Zocial, inc. จะพาทุกท่านย้อนไปยังเหตุการณ์สุดฮอตตั้งแต่ต้นปีผ่านทาง #แฮชแทก ที่ถูกใช้มากที่สุดในแต่ละเดือน จะเป็นอะไรบ้าง จะฮอตขนาดไหน ต้องตามไปดู!!
มกราคม
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าช่วงต้นปี เป็นช่วงเวลาทองของเหล่าบรรดาแฟนคลับเกาหลีอย่างแท้จริง เนื่องจาก Feed ของ Twitter จะเต็มไปด้วย แฮชแทกที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปินเกาหลีที่ถูกทวิตโดยคนไทย(มีทั้งภาษาไทยและภาษาเกาหลี) นำทัพโดย #ILoveGOT7 แฮชแทกอันดับหนึ่งซึ่งถูกทวิตภายในเดือนมกราคมไปทั้งหมดเกือบ 150,000 ครั้งเลยทีเดียว ตามมาด้วย #ILoveBEAST ด้วยยอดการทวิตกว่า 100,000 ครั้ง รวมไปถึงวง Super Junior ที่มีการมาจัดคอนเสิร์ตในประเทศไทยในช่วงนั้นก็ได้มีการใช้ #ILoveSuperjunior  และ #SS6inBKKDay1 รวมกว่า  157,160 ครั้งเลยทีเดียว